วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การสอบ สพฐ. ของนักเรียนประถม

 การสอบ สพฐ คือ ชื่อเรียกสั้นๆ ของ "การแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ" ที่อยู่ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้สู่สากล ดำเนินการโดยสำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)

เป็นรายการสอบแข่งขันทางวิชาการที่ผู้ปกครองควรสนับสนุนให้นักเรียนสมัครสอบ เพราะเป็นการวัดผลทางคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ ที่มีสนามสอบทุกจังหวัดทั่วประเทศ ผลการแข่งขันของการสอบ สพฐ. เป็นที่ยอมรับของโรงเรียนชั้นนำในการสมัครเข้าเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา นักเรียนที่สามารถผ่านการแข่งขันเข้าไปถึงรอบสุดท้าย จะได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่ต่างประเทศ

การจัดสอบมี 3 รอบ ดังนี้ 
  • รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ดำเนินการโดยสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา (สพป.เขต) ซึ่งจะมีอยู่ประมาณ 2-3 เขตในแต่ละจังหวัด จะจัดสอบที่โรงเรียนใดโรงเรียนหนึ่งในเขตการศึกษา 

การสอบ สสวท. ของนักเรียนประถม

เพื่อประเมินความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของลูก เปรียบเทียบกับนักเรียนในระดับประถมศึกษาทั้งประเทศ ผู้ปกครองควรติดตามปฏิทินการสอบของ สสวท. เพื่อสมัครสอบให้ทันเวลา เนื่องจากโรงเรียนประถมซึกษาหลายแห่งอาจไม่ได้ประกาศประชาสัมพันธ์ หรือประกาศแล้วแต่เด็กลืมที่จะนำข่าวสารมาแจ้งให้ผู้ปกครองทราบ

เป็นรายการสอบแข่งขันทางวิชาการที่ผู้ปกครองควรสนับสนุนให้ นักเรียนสมัครสอบ เพราะเป็นการวัดผลทางคณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ที่มีการจัดสอบทุกจังหวัด ทั่วประเทศ 

สสวท. เป็นชื่อย่อของ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หน่วยงานราชการในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ  มีหน่วยงานย่อยหลายสาขาและมีโครงการพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนในทุกระดับชั้น เพื่อประเมินศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็กไทย เช่น โครงการโอลิมปิกวิชาการ เพื่อคัดเลือกนักเรียนระดับมัธยมเป็นตัวแทนประเทศในการแข่งวิชาการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในระดับนานาชาติ โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ  หรือ PISA เพื่อประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี เปรียบเทียบกับประเทศอื่น 

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เรื่องของไฟฟ้า


ข้าวของเครื่องใช้มากมายรอบตัวเราต้องใช้พลังงานเพื่อให้มันสามารถทำงานได้ และพลังงานส่วนใหญ่ได้มาจากไฟฟ้า

เธอต้องเคยใช้ไฟฟ้ามาแล้วอย่างแน่นอน เช่น เมื่อเปิดโทรทัศน์ โทรทัศน์จะฉายภาพและเสียงก็ต่อเมื่อมันมีพลังงานในการขับเคลื่อนกลไกการรับภาพจากคลื่น พลังงานเหล่านี้ได้มาจากไฟฟ้า

มีหลายวิธีที่เราจะใช้ไฟฟ้า เช่น เปิดสวิทซ์หรือเสียบปลั๊กไฟในบ้านเพื่อให้ไฟฟ้าไหลมาตามสายไฟเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้าของเรา หรือการใช้แบตเตอรี่หรือถ่านไฉายทำให้เราได้รับพลังงานเช่นกัน เพราะแบตเตอรี่เป็นตัวเก็บพลังงานและให้ไฟฟ้ากับเครื่องใช้ฟฟ้าเมื่อเราเปิดสวิทซ์ให้มัน

วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

ระบบสุริยะ


ดวงอาทิตย์คือกลุ่มก๊าซร้อนหรือพลาสม่า ที่มีขนาดใหญ่มาก  ขนาดของมันใหญ่และสว่างมากกว่าดาวไหนๆ ที่มองเห็นยามค่ำคืน เพราะดวงอาทิตญืเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด  ขนาดของดวงอาทิตย์นั้นใหญ่มาก กว้างกว่าสนามฟุตบอล 15 ล้านสนามมารวมกันเสียอีก เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของโลกแล้ว โลกของเราหนึ่งล้านดวงจึงจะมีขนาดเท่ากับดวงอาทิตย์หนึ่งดวง

บนผิวของดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิสูงถึง 5,500 องศาเซลเซียส  เกิดจากกลุ่มก๊าซร้อนที่รวมตัวกันอย่างแน่นหนา จึงให้พลังงานความร้อนที่สูงมาก พลังงานบางส่วนของดวงอาทิตย์เดินทางมาถึงโลกของเราในรูปแสงแดด

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

การเปลี่ยนแปลงของสสาร

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสสาร

ในภาพข้างๆนี้ เธอจะเห็นว่าช่างไม้กำลังแกะสลักไม้ให้เป็นงานศิลปะ ช่างจะใช้เครื่องมือ เช่น ลิ่ม ค้อน งัดและตกแต่งไม้ให้เป็นรูปร่างตามต้องการ สิ่งที่เขากำลังทำอยู่นี้ทำให้รูปร่างหน้าตาของไม้เปลี่ยนไป แต่การเปลี่ยนนี้ไม่ได้ทำให้ไม้กลายเป็นสสารตัวใหม่ มันยังเป็นไม้อยู่ สิ่งที่เปลี่ยนไปคือรูปร่างภายนอกเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงแบบนี้ เรียกว่าการ  เปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

ตัวอย่างของสสารที่มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น การพับผ้า การตัดกระดาษเป็นรูปร่างต่างๆ  เมื่อรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็นับเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้ว


วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

การเคลื่อนที่

วัตถุเคลื่อนที่ได้อย่างไร

เรามองเห็นการเคลื่อนที่ของสิ่งต่างๆ รอบตัวเราตลอดเวลา วัตุต่างๆสามารถเคลื่อนที่ไปได้หลายทิศทาง บางชนิดเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง เช่น รถที่ขับตรงไปบนถนน หรือเมื่อเราโยนสิ่งของลงมาจากที่สูง มันจะตกลงมาตรงๆ  แต่วัตถุบางชนิดเคลื่อนที่เป็นวงโค้ง เช่น ม้าหมุนในงานวัด การหมุนลูกข่าง หรือการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์รอบโลก วัตถุสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าและถอยหลังกลับได้ เช่น การแกว่งชิงช้า

การเคลื่อนที่หลายทิศทางนี้ สามารถสังเกตุเห็นและวัดได้
 
เมื่อเราสังเกตุวัตถุหนึ่งๆ การที่เราจะบอกได้ว่าวัตถุนั้นกำลังเคลื่อนที่หรือหยุดนิ่ง เราจะต้องเปรียบเทียบวัตถุนั้นกับตำแหน่งของวัตถุอื่นๆ เรียกการเคลื่อนที่แบบนี้ว่า การเคลื่อนที่สัมพัทธ์ (Relative motion) ตัวอย่างเช่น เมื่อเรานั่งรถไฟออกไปนอกเมือง เมื่อเรามองออกไปนอกหน้าต่าง เราจะเห็นต้นไม้สองข้างทางเคลื่นอผ่านเราไป อันที่จริงแล้วต้นไม้นั้นยืนต้นอยู่กับที่ ส่วนที่กลังเคลื่อนที่คือตัวเราที่นั่งอยู่บนรถไฟ

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557

อากาศรอบตัวเรา


อากาศ คืออะไร

อากาศเป็นก๊าซที่อยู่รอบตัวเรา อากาศประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กมากๆ ที่เรียกว่าโมเลกุล เราไม่สามารถมองเห็นโมเลกุลได้ด้วยตาเปล่า แต่โมเลกุลนี้ก็มีน้ำหนักและต้องการที่อยู่อาศัย

เราสัมผัสอากาศตลอดเวลา แม้ว่าเราจะมองไม่เห็นอากาศ แต่บางครั้งเราก็รู้สึกสัมผัสมันได้ เช่น เมื่อลมพัดมาโดนตัวเรา ลมก็คืออากาศนั่นเอง  เมื่อเราเล่นว่าว อากาศจะพัดให้ว่าวเคลื่อนที่   ใบไม้ไหวก็เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศ เมื่อเราเป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง ลูกโป่งจะโตขึ้นและหนักขึ้น แสดงให้เห็นว่าอากาศก็ต้องการที่อยู่และมีน้ำหนักด้วย

สิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต


คน สัตว์ และพืช เป็นสิ่งมีชีวิต ซึ่งต้องเติบโตและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงอายุ ให้กำเนิดลูกหลานและเคลื่อนที่ได้

ปัจจัยที่สำคัญต่อการมีชีวิต คือ อากาศ อาหารและน้ำ สิ่งมีชีวิตยังต้องการที่อยู่อาศัยด้วย

ส่วนสิ่งไม่มีชีวิตนั้น ไม่ต้องเติบโต ไม่ต้องหายใจ สิ่งไม่มีชีวิตจึงไม่มีปัจจัยสำคัญใดเพื่อการดำรงชีวิต